Top Ad unit 728 × 90

Latest News

Morning air 58

หลักการมอเตอร์ไฟฟ้า AC

หลักการมอเตอร์ (Induction) ใช้การเหนี่ยวนำของอำนาจสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และใช้อุปกรณืไฟฟ้าช่วยให้มอเตอร์ทำงานด้วยตังเอง เรียกว่าอุปกรณ์ช่วยสตาร์ท
ส่วนประกอบของมอเตอร์ทั่วไป
1.สเตเตอร์ (Stator) ส่วนที่นิ่งอยู่กับที่
        ทำหน้าที่ สร้างสนามแม่เหล็กของตัวมอเตอร์
        ประกอบด้วย
·       แกนเหล็กรองรับขดลวดตัวนำ
·       ขดลวดชุดรันนิ่ง
·       ขดลวดชุดสตาร์ทติ้ง
2.โรเตอร์ (Rotor)
                ส่วนที่หมุนเคลื่อนที่ของตัวมอเตอร์แบบสไควเรลเกจ (Sqireavge)
คุณสมบัติของขดลวดตัวนำในมอเตอร์
1.ขดลวดชุดรันนิ่ง หรือขดลวดชุด R
ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กตลอดเวลาเมื่อจ่ายกระไฟฟ้าเข้าไป แต่ลำพังขดลวด ชุด R อย่างเดียวไม่สามารถมีแรงผลักให้ โรเตอร์หมุนออกตัวได้ (สตาร์ทได้)
* ขดลวด R จะพันด้วยลวดเส้นใหญ่ พันจำนวนมากรอบ กินกระแสสูง แต่ค่าโอห์มที่วัดได้ต่ำ
2.ขดลวดชุดสตาร์ทติ้ง หรือ ชุดสตาร์ท ชุด S
ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กชุด Rเพื่อให้มอเตอร์หมุนได้ ในช่วงตอนสตาร์ทครั้งแรก และจะต้องหยุดทำงานทันทีเมื่อมอเตอร์สตาร์ทได้แล้ว
- ดังนั้นชดลวดชุด S จึงต้องมีอุปกรณ์ตัดต่อ อัตโนมัติ ช่วยควบคุมวงจร (สวิทช์อัตโนมัติ)
- ถ้าต้องการให้มอเตอร์มีกำลังสตาร์ทดียิ่งขึ้น จะต้องใช้ คาปาซิเตอร์ (CAP) มาต่อวงจรรวมในขดลวดชุดสตาร์ทด้วย
* ขดลวด S จะพันด้วยลวดเส้นเล็ก พันจำนวนน้อรอบ กินกระแสน้อย แต่ค่าโอห์มที่วัดได้สูง
หลักการทำงาน

1.จ่ายไฟเข้าขดลวดทั้ง 2 ตามวงจร
2.ขดลวด R และ ขดลวด S จะสร้างสนามแม่เหล็กทันที ทำให้โรเตอรหมุน (สตาร์ท) ขณะมอเตอร์สตาร์ทจะกินกระแสสูงกว่าปกติ 3-5 เท่า เมื่อโรเตอร์หมุนไปใช้เวลา 0.035 วินาที สวิทช์จะตัดต่อวงจรชุด ขดลวดชุด S ทันที ทำให้เหลือ ขดลวดชุด R ทำงานเพียงชุดเดียวและกินกระแสลดลงปกติ
    * ช่วงจังหวะมอเตอร์เริ่มสตาร์ทจะกินกระแสสูง เรียกว่า Lock Rotor Amp (LRA)
    * ช่วงจังหวะมอเตอร์รัน (หมุนปกติ) จะกินกระแสต่ำ ลงตามปกติ เรียกว่า Full Load Amp (FLA)

หลักการมอเตอร์ไฟฟ้า AC Reviewed by odogeye on 09:19 Rating: 5

No comments:

All Rights Reserved by Morning Air 58 © 2014 - 2015
Designed by Laemchabang

Contact Form

Name

Email *

Message *

Powered by Blogger.